Post Views:
1,067
1.หมึกกล้วย
- ชื่อสามัญภาษาไทย
หมึกกล้วย - ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
SPLENDID SQUID - ชื่อวิทยาศาสตร์
Loligo duvauceli - ลักษณะทั่วไป
ลักษณะของหมึกกล้วย รูปร่างยาวเรียว ลำตัวกลม ครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านท้าย ครีบด้านซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันทางด้านหลัง มีหนวดสั้น 4 คู่ และหนวดยาว 1 คู่ หนวดสั้นอันที่สี่ข้างซ้ายของเพศผู้ ปุ่มดูดที่อยู่บนหนวดเปลี่ยนรูปเป็นขนสั้น ๆ เพื่อใช้ในการผสมพันธุ์ นัยน์ตามีขนาดใหญ่ ในปากมีฟันเขี้ยวคล้ายปากนกแก้ว ในลำตัวมีกระดองใสเหมือนแผ่นพลาสติก รูปร่างคล้ายขนนกหนึ่งอัน - ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบ
หมึกกล้วยพบทั่วไปในอ่าวไทย โดยปกติกลางวันจะหลบอยู่ตามหน้าดิน ออกหาอาหารในเวลากลางคืนตามผิวน้ำ - อาหาร
หมึกกล้วยกินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า - ขนาด
ความยาวประมาณ 20-35 ซ.ม.
2.หมึกกระดอง
- ชื่อสามัญภาษาไทย
หมึกกระดอง - ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
Cuttlefish, Rainbow Cuttlefish - ชื่อวิทยาศาสตร์
Sepia brevimana, Sepia pharaonis - ลักษณะทั่วไป
รูปร่างคล้ายกับหมึกกล้วย แต่มีรูปร่างที่กลมป้อมกว่า อันเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ภายในโครงร่างภายในเป็นแผ่นหินปูนรูปกระสวย สอดอยู่กลางหลังเรียกว่า ลิ้นทะเล แผ่นหินปูนนี้มีช่องว่าง ภายในมีของเหลวและแก๊สบรรจุอยู่ ช่วยในการลอยตัวได้เป็นอย่างดี มีหนวดทั้งสิ้น 10 หนวดเหมือนกับหมึกกล้วย มี หนวดยาว 2 เส้นใช้สำหรับจับเหยื่อเช่นเดียวกับหมึกกล้วย แต่ปลายหนวดไม่ได้แผ่แบนออกกว้างและสามารถหดเข้าไปในกระเปาะได้ ว่ายอยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ จะไม่เหมือนกับพวกหมึกหอมและหมึกกล้วยที่จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถเปลี่ยนสีผิวหนังให้เข้ากับพื้นที่รอบข้างได้ และสามารถเปลี่ยนลายของกระดองได้อีกด้วย - ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบ
หมึกกระดองพบทั่วไปในอ่าวไทย ออกหาอาหารในเวลากลางคืน - อาหาร
หมึกกระดองกินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า - ขนาด
ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ หมึกกระดองยักษ์ออสเตรเลีย มีความยาวลำตัวได้ถึง 50 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 10.5 กิโลกรัม
3.หมึกยักษ์
- ชื่อสามัญภาษาไทย
หมึกยักษ์ - ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
Giant squid - ชื่อวิทยาศาสตร์
Octopus membranaceous - ลักษณะทั่วไป
มีหนวด 8 เส้น ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีกระดอง หนวดใช้ในการยึดจับเหยื่อเมื่อถูกหนวดของพวกนี้ยึดจับแล้วค่อนข้างยากที่จะดึงหนวดออกได้ พิษของมันอยู่ที่น้ำลายซึ่งผลิตมาจากต่อมน้ำลายที่อยู่ถัดจากส่วนปากเข้าไป เมื่อมันจะเข้าทำร้ายเหยื่อมันจะใช้หนวดยึดจับก่อนเสร็จแล้วจึงส่งเข้าสู่บริเวณปาก แล้วใช้เขี้ยวซึ่งมีลักษณะคล้ายปากนกแก้ว คม มีสีดำ กัดเหยื่อพร้อมกับขับน้ำลายซึ่งเป็นพิษ (Cephalotoxin) ออกมา บริเวณที่ถูกมันกัดจะปรากฏรอยเขี้ยว 2 รอย และมีอาการปวดหลังจากถูกกัดเพียง 2 – 3 นาที
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบ
พบโดยทั่วไปแม้กระทั่งในน้ำลึก หรือตามบริเวณชายฝั่ง ในซอกหิน โขดหิน แนวปะการัง - อาหาร
สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า - ขนาด
ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ หมึกกระดองยักษ์ออสเตรเลีย มีความยาวลำตัวได้ถึง 50 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 10.5 กิโลกรัม